ไม้เทียม: ทางเลือกวัสดุตกแต่งบ้านยุคใหม่ สวย ทน ดูแลง่าย ครบจบในหนึ่งเดียว

ในยุคที่การตกแต่งบ้านให้สวยงามคือส่วนสำคัญที่ทำให้บ้านของคุณน่าอยู่และมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ตามไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้าน วัสดุที่ใช้ตกแต่งจึงต้องตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของความทนทาน การดูแลรักษา และความเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานด้วย ไม้เทียม ได้กลายมาเป็นตัวเลือกที่มาแรงไม่แพ้วัสดุตกแต่งอื่นๆ เช่น กระเบื้อง คอนกรีตเปลือย ลามิเนต หรือแม้แต่วัสดุธรรมชาติเช่น ไม้จริง

บทความนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพชัดเจน จากมุมมองของดีไซเนอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุตกแต่ง เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถตัดสินใจเลือกวัสดุ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน ความชอบส่วนตัว และงบประมาณที่มีได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

ไม้เทียมคืออะไร?

ไม้สังเคราะห์หรือที่เรียกกันว่า “ไม้เทียม” คือวัสดุตกแต่งที่ถูกสังเคราะห์และออกแบบมาเพื่อทดแทนไม้จริง โดยมีจุดเด่นอยู่ที่สามารถใช้งานได้ภายในและภายนอก เพราะทนแดด ฝน ความชื้น และปลวกแมลง ไม่บิดงอหรือผุพังง่าย ซึ่งปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น ไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์, WPC (Wood Plastic Composite), และ uPVC

จุดเด่นของไม้เทียมยุคใหม่

มีลวดลายและพื้นผิวที่สมจริงมากขึ้น

เทคโนโลยีการผลิตในปัจจุบัน สามารถเลียนแบบลายไม้ธรรมชาติ หิน หรือแม้แต่ลายซีเมนต์ได้อย่างใกล้เคียง

มีหลายเฉดสี และหลายขนาด

ดีไซเนอร์สามารถนำไปตกแต่งบ้านได้หลากหลายสไตล์ ทั้งบ้านสไตล์โมเดิร์น มินิมอล ไปจนถึงทรอปิคอลหรือรีสอร์ท

มีความทนทานแข็งแรงมากขึ้น

เทคโนโลยีการผลิตปัจจุบันทำให้ไม้เทียมมีความแข็งแรงทนทานกว่าเดิม ไม่แตกร้าว ไม่บวม ไม่ลอก แม้เจอแดดเจอฝน

ดูแลรักษาง่าย

เพียงแค่ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเพื่อทำความสะอาด แทบไม่ต้องทาน้ำยาเคลือบหรือกันปลวก

วัสดุตกแต่งกับสัมผัสของวัสดุมีผลต่อประสบการณ์ใช้งานอย่างไร?

สัมผัสในการใช้งานเป็นจุดสำคัญที่มักถูกมองข้าม ไม้เทียมยุคใหม่มีการออกแบบพื้นผิวให้มีความด้านหรือมีร่องเหมือนกับไม้จริง คือไม่เรียบลื่นเหมือนกับกระเบื้องหรือหิน จึงให้ความรู้สึกอบอุ่นและเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน โดยเฉพาะในบ้านที่มีผู้สูงอายุหรือเด็กเล็ก วัสดุที่มีพื้นผิวไม่เรียบลื่นช่วยลดอุบัติเหตุได้

นอกจากนี้ พื้นไม้เทียมก็ยังให้ผิวสัมผัส “นุ่ม” กว่าหินหรือพื้นกระเบื้อง เมื่อนำมาตกแต่งภายในโดยเฉพาะพื้น จะให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติและสบายมากกว่าเมื่อสัมผัส, เดิน หรือ ยืน

เปรียบเทียบไม้เทียมกับวัสดุตกแต่งยอดนิยมอื่นๆ

ไม้เทียม VS ไม้จริง

ความสวยงาม

ลายของไม้จริงคือลายธรรมชาติ ให้ความรู้สึกอบอุ่น แต่ไม้เทียมในปัจจุบันก็มีความใกล้เคียงกับไม้จริงมาก และมีให้เลือกใช้งานครบทุกฟังก์ชันการตกแต่ง อาทิ พื้นไม้เทียม, ฝ้าไม้เทียม หรือ ระแนงไม้เทียม เป็นต้น

ความทนทาน

ไม้จริงอาจบวมหรือผุเมื่อสัมผัสน้ำ ต้องคอยบำรุงรักษา แต่ไม้เทียมสามารถทนต่อแดด ฝน และปลวกได้

ราคา

ไม้จริงมีราคาที่สูงกว่าไม้เทียมอยู่แล้ว โดยเฉพาะไม้สักและไม้เต็ง

ความสะดวกในการติดตั้ง

ไม้จริงจำเป็นต้องใช้ช่างฝีมือเฉพาะ ในขณะที่ไม้เทียมติดตั้งง่าย สะดวก โดยเฉพาะไม้เทียมที่มีเทคโนโลยีพิเศษในการติดตั้ง เจ้าของบ้านสามารถติดตั้งด้วยตัวเองได้

การดูแลรักษา

ไม้จริงต้องลงน้ำยากันปลวกและเคลือบเงาก่อนเพื่อความง่ายในการดูแลรักษา ในขณะที่ไม้เทียมเช็ดล้างง่าย ไม่ต้องเคลือบ

ไม้เทียม VS กระเบื้องลายไม้

ลวดลาย

ทั้งไม้เทียมและกระเบื้องลายไม้ มีลวดลายที่คล้ายไม้จริงมากขึ้นในปัจจุบัน

พื้นผิว

ไม้เทียมมีผิวสัมผัสแบบไม้จริง แต่กระเบื้องลายไม้จะมีผิวหน้าที่ลื่นกว่าทั้งไม้จริงและไม้เทียม

ราคา

ไม้เทียมส่วนมากมีราคามากกว่าพื้นกระเบื้อง ยกเว้นพื้นกระเบื้องเกรดพรีเมียม

ความสะดวกในการติดตั้ง

กระเบื้องลายไม้ใช้ปูบนพื้นเรียบ ซีเมนต์ หรือปูนเท ในขณะที่ไม้เทียมสามารถติดตั้งไว้บนพื้นไม้เทียมหรือติดตั้งกับโครงคร่าวได้

การดูแลรักษา

ไม้เทียมสามารถถอดเปลี่ยนแผ่นเมื่อมีปัญหาได้ แต่กระเบื้องลายไม้ไม่สามารถซ่อมเฉพาะจุดได้ และอาจจะต้องรื้อพื้นกระเบื้องที่อยู่โดยรอบ

ไม้เทียม VS ลามิเนต

ความทนทาน

ไม้เทียมสามารถติดตั้งภายนอกได้ เพราะไม้เทียมรุ่นที่ใช้ติดตั้งภายนอกทนแดดทนฝนได้ แต่ลามิเนตใช้ตกแต่งเฉพาะพื้นที่ภายในเท่านั้น เพราะลามิเนตไม่ทนต่อน้ำ

ลักษณะพื้นผิว

ไม้เทียมมีผิวสัมผัสที่เหมือนไม้จริงมากกว่าเพราะมีผิวด้าน ในขณะที่พื้นลามิเนตมีผิวเรียบและมันเงา

ราคา

ราคาไม้เทียมจะสูงกว่าลามิเนตเล็กน้อย

การดูแล

ลามิเนตไม่ทนต่อน้ำ จึงไม่เหมาะกับการปูในพื้นที่ที่มีโอกาสเปียกชื้นสูงอย่างบริเวณห้องน้ำหรือระเบียง ในขณะที่ไม้เทียมที่ใช้ภายในก็สามารถทนชื้นได้

ไม้เทียม VS หินเทียม/คอนกรีตเปลือย

สไตล์

วัสดุทั้งสองแบบ เมื่อนำมาใช้ตกแต่งก็สร้างบรรยากาศที่แตกต่างกัน ไม้เทียมจะให้ความรู้สึกที่อบอุ่น เป็นธรรมชาติ ส่วนหินเทียมหรือคอนกรีตให้ความรู้สึกที่ดูดิบ เท่

น้ำหนัก

ไม้เทียมมีน้ำหนักที่เบากว่าอย่างชัดเจน

ความสะดวกในการติดตั้ง

ไม้เทียมติดตั้งง่ายกว่า ส่วนหินเทียมต้องมีพื้นที่รองรับที่แข็งแรง และในส่วนของคอนกรีตก็ต้องมีการเสริมโครงสร้างรองรับ

การใช้งาน

ไม้เทียมในปัจจุบันสามารถใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก ใช้เป็นพื้น ผนัง ไม้ระแนง ฝ้า และเฟอร์นิเจอร์ได้ ในขณะที่หินเทียมจะเหมาะกับพื้นหรือผนังเท่านั้น

เคล็ดลับการดูแลไม้เทียมให้ใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

  • ทำความสะอาดสม่ำเสมอ

    ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดฝุ่นหรือใช้น้ำเปล่าชะล้างสิ่งสกปรกออกเป็นประจำ เพื่อป้องการสะสมของคราบสกปรกฝังแน่น

  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีรุนแรง

    ไม่ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เพราะอาจทำให้ผิวไม้หมองหรือเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

  • หากใช้ภายนอก ควรเลือกเกรดที่เหมาะกับ Outdoor

    เพื่อความทนทานต่อรังสี UV และฝนตก

  • ตรวจสอบรอยต่อและโครงสร้างเป็นระยะ

    โดยเฉพาะหากใช้ร่วมกับโครงไม้หรือเหล็ก เพื่อให้มั่นใจว่ามีจุดอ่อนหรือชำรุด

ข้อแนะนำจากดีไซเนอร์: เลือกวัสดุอย่างไรให้เหมาะกับบ้านคุณ?

  • ดูความเหมาะสมกับพื้นที่ที่จะใช้งาน

    หากใช้กับพื้นที่ภายนอก ก็ต้องเลือกวัสดุที่ทนแดดและฝนได้ เช่น ไม้เทียม ไม้จริง หรือ WPC

  • พิจารณาความถี่ในการดูแล

    หากไม่อยากดูแลบ่อยๆ ไม้เทียมคือคำตอบ เพราะทนทานและไม่ต้องลงน้ำยา

  • ความปลอดภัยและผิวสัมผัส

    บ้านที่มีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ควรเลือกพื้นไม้เทียมหรือลามิเนตแบบผิวด้าน เพื่อป้องกันลื่น

  • สไตล์บ้านและงบประมาณ

    วัสดุที่แตกต่างกันย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่าง ถ้าชอบลุคธรรมชาติ สไตล์รีสอร์ท ไม้เทียมลายไม้คือตัวเลือกที่คุ้มค่าและสวยงาม

ไม้เทียมหนึ่งในวัสดุตกแต่งที่มาแรงแห่งยุค?

การใช้ไม้เทียมตกแต่งบ้านไม่ใช่เรื่องน่าแปลกแล้วในปัจจุบัน และยังกลายเป็นวัสดุหลักสำหรับการตกแต่งที่ต้องการความสวยงามควบคู่กับความทนทาน แถมเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ทำให้ไม้เทียมมีลวดลายสวยงามไม่ต่างจากวัสดุจริง ทั้งแข็งแรง ดูแลรักษาง่าย ทนแดด ทนฝน ไม่ผุ ไม่พัง และใช้งานได้นานนับสิบปี

หากคุณกำลังตัดสินใจเลือกวัสดุตกแต่งที่ทั้งสวย ใช้งานได้จริง และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ ไม้เทียมคือหนึ่งในตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้ามเลยจริงๆ ซึ่งคุณสามารถเลือกดูผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของไม้เทียมและคุณสมบัติของไม้เทียมเพิ่มเติมได้ที่ Remood

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *