AB Charity Foundation เปิดตัวอย่างเป็นทางการ: ผนึกกำลังบล็อกเชน อดีตผู้นำยุโรป สร้างมิติใหม่การกุศลที่โปร่งใส
กรุงเทพฯ – มูลนิธิ AB Charity Foundation ได้ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ โดยมีวิสัยทัศน์หลักในการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการกุศลและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นสำคัญของมูลนิธิฯ คือการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินงาน โดยได้รับการสนับสนุนทางเทคนิคจาก AB DAO ระบบดังกล่าวใช้สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contracts) บนเครือข่ายสาธารณะของ AB เพื่อสร้างกลไกการระดมทุนและการจัดสรรเงินทุนที่ไม่เหมือนใครและมีความโปร่งใสสูง
ภายใต้กลไกนี้ ค่าธรรมเนียมก๊าซ (Gas Fees) จากธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายบล็อกเชนสาธารณะของ AB จำนวน 15-30% จะถูกจัดสรรเข้าสู่กองทุนการกุศลของมูลนิธิฯ โดยเฉพาะ นอกจากนี้ รายได้จากการลงทุนผ่าน AB Ecosystem Fund ในสัดส่วน 15-30% ก็จะถูกนำมาสมทบเข้ากองทุนนี้เช่นกัน ซึ่งกลไกเหล่านี้ได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถสนับสนุนโครงการด้านการกุศลไปแล้วหลายสิบโครงการ และยังคงมีโครงการอื่นๆ อยู่ระหว่างการพิจารณาและดำเนินการ ช่วยให้มูลนิธิฯ มีความมั่นคงทางการเงินในการดำเนินพันธกิจได้อย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการดำเนินงานด้านเงินทุนนี้ถือเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ในภาคการกุศล ด้วยการผสมผสานการระดมทุนแบบออนเชน (On-chain Fundraising) การกระจายเงินทุนแบบอัตโนมัติ การตรวจสอบย้อนกลับได้แบบครบวงจร (End-to-end Verification) และการรับรองความสอดคล้องจากบุคคลที่สาม (Third-party Attestation) ทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของคุณสมบัติเด่นของเทคโนโลยีบล็อกเชนคือ ‘ความโปร่งใส’
มูลนิธิ AB Charity Foundation มุ่งหวังที่จะเป็นต้นแบบที่สามารถขยายผลได้สำหรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการกุศลในอนาคต ทำให้มั่นใจได้ว่า ทุกการบริจาคสามารถตรวจสอบเส้นทางการใช้เงินได้ ทุกการจัดสรรเงินทุนสามารถพิสูจน์ได้ และทุกเจตนาของผู้ให้ได้รับการเคารพและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง
ผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯ ได้กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือว่า “ไม่ใช่เทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งเพียงอย่างเดียวที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างแท้จริง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นจากฉันทามติร่วมกันต่อสถาบันที่น่าเชื่อถือ และความร่วมมือในระดับโลกต่างหาก ที่เป็นกุญแจสำคัญ” คำกล่าวนี้สะท้อนถึงหัวใจหลักของมูลนิธิฯ ในการผนึกกำลังจากภาคส่วนต่าง ๆ
องค์ประกอบที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของมูลนิธิฯ คือคณะกรรมการบริหาร ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์สูงในระดับสากล โดยเฉพาะอดีตผู้นำระดับสูงจากประเทศต่างๆ ในยุโรป นำโดย คุณ Bertie Ahern อดีตนายกรัฐมนตรีของไอร์แลนด์ถึง 3 สมัย และผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสันติภาพที่นำไปสู่ข้อตกลง Good Friday Agreement ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ
สมาชิกคณะกรรมการท่านอื่นๆ ประกอบด้วย คุณ Lawrence Gonzi อดีตนายกรัฐมนตรีของมอลตา, คุณ Péter Medgyessy อดีตนายกรัฐมนตรีของฮังการี, คุณ Danilo Türk อดีตประธานาธิบดีของสโลวีเนีย และ คุณ Petar Stoyanov อดีตประธานาธิบดีของบัลแกเรีย การรวมตัวของบุคคลากรระดับโลกเหล่านี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของมูลนิธิฯ ในการดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความน่าเชื่อถือในระดับสากล.